วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เราลองมาทำความรู้จักกับตัวหมากรุกทีละตัวกันดีกว่านะครับ แต่บทความต่อไปนี้จะเป็นแบบภาษาอังกฤษเพื่อให้เพื่อนๆได้ฝึกภาษาอังกฤษกันด้วย^^(เจ๋งใช่ม้า!!!)
ตัวแรกที่จะแนะนำคือ

King

In chess, the King is the most important piece. The object of the game is to trap the opponent's king so that its capture is unavoidable (checkmate). If a player's king is threatened with capture, it is said to be in check, and the player must move so as to remove the threat of capture. If it cannot escape capture on the next move, the king is said to be in checkmate, and the player which owns that king loses the game.









Project stop motion chess.

เรา 2 คนได้จัดทำProjectเกี่ยวกับหมากรุกซึ่งเป็นเนื้อเรื่องอิงนิยาย เพื่อนๆลองรับชมแล้วอย่าลืมติชมกันนะขอรับ ^^ เรา 2 คนหวังว่าเพื่อนๆคงจะสนุกสนานกับ Project ชิ้นนี้ที่เราได้สร้างมันขึ้นมาจากน้ำพักน้ำแรงของพวกเราเองครับ

Art of Chess

ตั้งแต่เปิดบล็อกมาเรายังไม่ได้ทักทายกันเลย เอาไว้ว่างๆจะมาเเนะนำตัวอย่างเป็นทางการนะคร้าบบบบ
เเต่วันนี้เรา( 2 คน) มีภาพสวยๆสำหรับบรรดาคนรักหมากรุกมาให้ชมจ้า
ด้วยความที่เล่นหมากรุกไม่ค่อยจะเป็นแต่หลงไหลในหมากรุกอย่างที่สุด
จึงทำให้ต้องเสาะเเสวงหารูปสวยๆของหมากรุกและเมื่อพบแล้วก็ต้องไม่ลืมมาเเบ่งปันกันดูด้วยอิอิ














วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

หมากรุกสากล


หมากรุกสากล (chess) เป็นเกมหมากรุกชนิดหนึ่งที่นิยมเล่นกันทั่วโลก สามารถเล่นได้ 2 คน โดยแบ่งเป็นฝ่ายสีขาว และสีดำ โดยฝ่ายสีขาวจะได้เริ่มเล่นก่อนเสมอ ซึ่งเกมจะสิ้นสุดเมื่อคิงของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกรุกฆาต (Checkmate) หรือเสมอกัน (Draw)
กระดาน
ขนาด8x8ช่อง มีการสลับสีเหมือนกระดานหมากฮอส โดยตาสีเข้มเริ่มที่มุมซ้ายล่าง การวางหมากต้องวางที่กลางช่อง

ตำแหน่งเริ่มต้น
การจัดกระดาน ต้องให้ตาสีขาวอยู่ด้านขวาสุดแถวล่างสุดของกระดานเสมอ การเรียงตัวหมาก จะเรียงคือ รูค - ไนท์ - บิชอฟ - ควีน/คิง - ควีน/คิง - บิชอฟ - ไนท์ - รูค และวางกองทัพ พอนส์ ทั้ง 8 ตัว ในแถวติดกันคือแถวสอง
การจัดวาง คิงและควีน มีหลักคือ ควีนของแต่ละฝ่าย จะต้องอยู่ในช่องที่สีตรงกับตัวเอง ควีนขาวอยู่ช่องขาว ควีนดำอยู่ช่องดำ ผลที่ได้คือ คิงกับควีน ของแต่ละฝ่ายจะต้องวางตรงกันกับฝ่ายตรงกันข้าม โดยหมากขาววางคิงทางขวา ซึ่งจะตรงกับหมากดำที่วางคิงทางซ้ายของตนเอง

หมากรุกรุ่นแรกของโลก

มีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ไว้ว่าหมากรุกรุ่นแรกของโลกเป็นเกม 4 กองทัพระหว่าง 4 ผู้เล่น ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีตัวหมาก 4 ชุด แม้จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการใช้ชื่อของหมากรุกรุ่นแรก คือ Chatrang (เป็นสันสกฤตตรงกับคำว่า "จตุรงค์") โดยคำว่า จตุร แปลว่า สี่ และ รงค์ แปลว่าสี หรือ ฝ่าย

ชื่อ Chatrang เท่าที่พบก็มีวรรณกรรมสมัยราชวงศ์ Sasanid(242-651) แห่งเปอร์เซีย เขียนขึ้นด้วยภาษาปาลาวีชื่อ Chatrang namakwor(A Manual of Chess) มาถึงเปอร์เซียยุคใหม่ก็ใช้ชื่อซึ่งแทบจะไม่แตกต่างคือ Shatranj คำนี้มีการวิเคราะห์ถกเถียงกันด้วยความเห็นที่แตกต่าง




จาตุรงค์ หรือ Chatrang เป็นหมากรุกรุ่นแรกของโลก ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 สี 4 ฝ่าย เล่นโดยใช้ลูกเต๋า เป็นตัวกำหนดหมากที่จะเดิน

Shatranj เป็นหมากรุกในยุคถัดมาแบ่งออกเป็นสองฝ่ายเหมือนหมากรุกยุคปัจจุบัน

ประวัติหมากรุกโลก

ารเล่นหมากรุกปรากฏในประเทศอินเดียมาหลายพันปี ชาวอินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระรามไปล้อมเมืองลงกา นางมณโฑเห็นทศกัณฐ์เป็นกังวลกับการสงคราม จึงได้นำกระบวนสงครามตั้งทำเป็นหมากรุกขึ้นให้ทศกัณฐ์เล่นแก้รำคาญ ชาวอินเดียเรียกหมากรุกว่า "จัตุรงค์" เพราะเหตุที่นำกระบวรพล ๔ เหล่าทำเป็นตัวหมากรุก คือ พลช้าง 1 พลม้า 1 พลเรือ 1 พลราบ (เบี้ย) 1 มีพระราชา (ขุน) เป็นจอมทัพ ตั้งเล่นบนแผ่นกระดานจัดขึ้นเป็นตาราง 64 ช่อง วิธีเล่นหมากรุกเดิมที่เรียกว่าจัตุรงค์นั้น ไม่เหมือนอย่างที่เล่นกันในปัจจุบัน มีอธิบายอยู่ในหนังสือมหาภารตะว่า เป็นตัวหมากรุก 4 ชุด แต้มสีต่างกัน สีแดงชุดหนึ่ง สีเขียวชุดหนึ่ง สีเหลืองชุดหนึ่ง สีดำชุดหนึ่ง ในชุดหนึ่งนั้น ตัวหมากรุกมีขุน 1 ตัว ช้าง (โคน) 1 ตัว ม้า 1 ตัว เรือ 1 ตัว เบี้ย 4 ตัว รวมเป็นหมากรุก 8 ตัว สมมติว่าเป็นกองทัพของประเทศหนึ่ง ชุดทางขวามือสมมติว่าอยู่ประเทศทางตะวันออก พวกทางซ้ายมือว่าอยู่ประเทศตะวันตก ชุดข้างบนอยู่ประเทศทางทิศเหนือ ชุดข้างล่างอยู่ประเทศทิศใต้ คนเล่น 4 คนต่างถือหมากรุกคนละชุด แต่การเล่นนั้น พวกที่อยู่ทแยงมุมกัน เป็นสัมพันธมิตรช่วยกันรบกับอีกฝ่ายหนึ่ง ลักษณะเดินตัวหมากรุกอย่างจัตุรงค์นั้น ขุน ม้า เบี้ย เดินอย่างกับหมากรุกที่เราเล่นกัน แต่ช้างเดินอย่างเราเดินเรือกันทุกวันนี้ ส่วนเรือนั้นเดินทแยง (อย่างเม็ด) แต่ให้ข้ามตาใกล้เสีย 1 ตา แต่การที่จะเดินต้องใช้ทอดลูกบาต ลูกบาตนั้นทำเป็นสี่เหลี่ยมแท่งยาวๆ มี 4 ด้าน 2 แต้มด้านหนึ่ง 3 แต้มด้านหนึ่ง 4 แต้มด้านหนึ่ง 5 แต้มด้านหนึ่ง คนเล่นจะทอดลูกบาตเวียนกันไป ถ้าทอดได้แต้ม 5 บังคับเดินขุนหรือเบี้ย ถ้าทอดได้แต้ม 4 ต้องเดินช้าง ถ้าทอดได้แต้ม 3 ต้องเดินม้า ถ้าทอดได้แต้ม 2 ต้องเดินเรือ ต่อมา ราว พ.ศ.200 มีมหาอำมาตย์คนหนึ่งชื่อ สัสสะ ได้นำการเล่นจตุรงค์มาคิดดัดแปลงให้เล่นได้ 2 คน และเลิกวิธีทอดลูกบาต ให้เดินแต้มโดยใช้ปัญญาความคิดเอาชนะกัน เช่นเดียวกับอุบายการสงคราม